AD | ตรวจอัลไซเมอร์และความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม จากเลือด

Alzheimer's Disease and Other Neurodegenerative Diseases Screening

บริการตรวจความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ โดยการตรวจพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องและโปรตีนก่อโรคอัลไซเมอร์

 section2_bg
Bangkok Genomics Innovation บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์

บริการตรวจอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ผ่านเลือด คือการตรวจอะไร

การตรวจอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ผ่านเลือด เป็นบริการตรวจวัดระดับโปรตีนบางชนิดจากตัวอย่างเลือดของผู้เข้ารับการตรวจ โดยตรวจโปรตีน Amyloid beta 42, Amyloid beta 40, ptau181, ptau217, Neurofilament Light, และ alpha-Synuclein ที่เป็นสาเหตุและก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ เช่น โรคพาร์กินสัน หรืออาการบาดเจ็บของเซลล์ประสาท รวมถึงความเสี่ยงที่มาจากพันธุกรรม เนื่องจากโรคสมองเสื่อม มักพบปริมาณโปรตีนก่อโรคเหล่านี้สูงขึ้นกว่าปกติได้ตั้งแต่ 10-15 ปีก่อนที่จะมีอาการ

นอกจากการตรวจโปรตีนที่ก่อโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมแล้ว การตรวจยีนทางพันธุกรรมก็สำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งการตรวจเหล่านี้ สามารถช่วยในการคาดเดาความเสี่ยงได้แม่นยำขึ้น รวมถึงใช้ในการวางแผนการดูแลสุขภาพสมองและชีวิต ช่วยลดความเสี่ยง และชะลอการเกิดโรคร้ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายท่านอาจสงสัยว่าการตรวจอัลไซเมอร์ ราคาเท่าไหร่จึงจะคุ้มค่ากับการป้องกันโรคร้ายในระยะยาว แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์แล้ว เชื่อว่าการตรวจเพื่อป้องกันถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก

บริการตรวจโรคอัลไซเมอร์

และความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมอื่นๆ จากเลือด เหมาะกับใคร

Bangkok Genomics Innovation บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์

ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวเป็นอัลไซเมอร์

ตั้งแต่อายุน้อย (Early Onset Alzheimer's Disease)

ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ

ผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น หยุดหายใจระหว่างนอน นอนหลับยาก

ผู้ที่มีความเครียด

ผู้ที่มีภาวะความเครียดสะสม

Bangkok Genomics Innovation บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์

ผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ดูแลตนเองเป็นอย่างดี

Package ตรวจโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ

Package

Neurodegenerative Diseases Screening (6 biomarkers) (Aβ1-40, Aβ1-42, ptau181, ptau217, α-Synuclein, NfL)

Alzheimer Disease Screening (4 biomarkers) (Aβ1-40, Aβ1-42, ptau181, ptau217)

ptau217

Aβ1-40, Aβ1-42

Parkinson Disease Screening (α-Synuclein)

Neuronal Damage Screening (NfL)

section4_bg
Bangkok Genomics Innovation บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์

ทำไมต้องตรวจความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ กับ BKGI

  • การตรวจคัดกรองโรคอัลไซเมอร์ของ BKGI ใช้เทคโนโลยีการตรวจล่าสุดอย่าง Single Molecular Immune Detection หรือ SMID ที่มีความไวต่อการตรวจโปรตีนเป้าหมายได้ถึงระดับเฟมโต หรือ 1 ใน พันล้านล้านส่วน เพื่อให้ผลการตรวจอัลไซเมอร์ที่แม่นยำและรวดเร็ว
  • การตรวจคัดกรองอัลไซเมอร์ของ BKGI สามารถวัดระดับโปรตีนก่อโรคได้จากเลือด สะดวกและรวดเร็วกว่าการซักประวัติและตรวจสอบร่างกายทั่วไป รวมถึงให้ประสิทธิภาพของการตรวจสูงกว่าร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับการเจาะไขสันหลังเพื่อตรวจหาโปรตีนก่อโรคที่ผิดปกติ
  • เมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธี PET Scan ใช้ภาพวินิจฉัยการทำงานของอวัยวะ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ทำให้บริการตรวจอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ จากเลือด เป็นการตรวจอัลไซเมอร์ในราคาที่เข้าถึงได้มากกว่า
section7_bg

คำถามที่พบบ่อย

1. โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร?
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers Disease) เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้มากที่สุด ถึง 60-80% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เกิดขึ้นจากความเสื่อมของสมองในการทำงาน ที่มาจากความผิดปกติของโครงสร้างเนื้อเยื่อสมอง จากการสะสมของโปรตีนที่ชื่อว่า อะไมลอยด์-เบต้า (Amyloid Beta, Aβ) หรือบางทีก็เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-Amyloid) และโปรตีนทาว (Tau Protein) ซึ่งมีผลทำให้เซลล์สมองเสื่อมสภาพ และสารอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ที่เป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อความทรงจำลดลง สูญเสียการสื่อประสาทและพัฒนามาเป็นโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด

โดยผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และเริ่มเสียความทรงจำระยะสั้น หลงๆ ลืมๆ ก่อนที่อัลไซเมอร์จะเริ่มส่งผลต่อการเรียนรู้ ความคิด พฤติกรรมต่างๆ จนสุดท้าย ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในทุกๆด้าน ดังนั้น การตรวจอัลไซเมอร์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต
2. โรคอัลไซเมอร์ อาการเป็นอย่างไร?
อาการของโรคอัลไซเมอร์ จะสามารถแบ่งออกมาได้สามระดับ ได้แก่
  • ระยะแรก ผู้ป่วยจะเริ่มมีความจำที่ถดถอย ชอบถามซ้ำๆ พูดซ้ำ ชอบพูดเรื่องเดิมๆ มีอาการสับสนทิศทาง มีความเครียด อารมณ์เสียง่ายและมีอาการซึมเศร้า แต่ผู้ป่วยจะยังสามารถทำกิจวัตรประจำได้อยู่บ้าง โดยอัลไซเมอร์ระยะแรกนั้น ครอบครัวและคนรอบข้างยังสามารถจะสามารถดูแลช่วยเหลือต่างๆ ได้บ้าง หรือหากเริ่มมีอาการรุนแรง ก็ควรที่จะเข้ารับการตรวจอัลไซเมอร์ เพื่อเตรียมพร้อม และรับมือกับระยะของโรคขั้นต่อไป
  • ระยะกลาง อาการของผู้ป่วยจะยิ่งชัดเจนและรุนแรงขึ้น ทั้งความจำที่แย่ลง เดินหลงทาง ไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากคนใจเย็นกลายเป็นคนที่หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง หรือจากคนใจร้อนกลายเป็นคนเงียบขรึม และเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เข่น ใช้รีโมทหรือโทรศัพท์ไม่เป็น ทั้งที่เคยใช้ได้ มีหลักความคิดที่ไม่ถูกต้อง การดูแลผู้ป่วยในระยะกลางค่อนข้างท้าทายพอสมควร เพราะต้องดูแลทั้งอาการและอารมณ์ที่แปรปรวนของผู้ป่วย
  • ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง และมีร่างกายที่ทรุดโทรมลงเรื่อยๆ รับประทานอาหารได้น้อยลง เคลื่อนไหวน้อยลงจนถึงไม่เคลื่อนไหวเลย ไม่พูดคุยกับใคร ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และภูมิคุ้มกันอ่อนลง ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตได้
3. โรคอัลไซเมอร์มีวิธีรักษาอย่างไร สามารถหายได้ไหม?

โรคอัลไซเมอร์ หายมั้ย? ต้องบอกว่า การรักษาโรคสมองเสื่อมต่างๆ รวมถึงอัลไซเมอร์ในปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้อาการของผู้ป่วยนั้นดีขึ้น จนสามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีชีวิตที่ดีต่อไป โดยวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่คือ

  • การรักษาแบบไม่ใช้ยา ได้แก่ การทำกายภาพบำบัด การเล่นเกม ฝึกสมอง การออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพและอาหารการกินให้ถูกสุขลักษณะ และการฝึกให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • การรักษาแบบใช้ยา จากการประเมินโดยแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ การใช้ยาชะลอไม่ให้สมองเสื่อมเพิ่มขึ้น และการใช้ยาปรับอาการทางพฤติกรรม เช่นการกระสับกระส่าย การนอนไม่หลับ เป็นต้น
4. การตรวจโปรตีนก่อโรคอัลไซเมอร์ คืออะไร?
โดยปกติแล้ว ร่างกายจะมีการผลิตโปรตีนก่อโรคเหล่านี้ตลอดเวลา แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น อายุที่มากขึ้น ภาวะเครียดเรื้อรัง หรือสุขภาวะที่ไม่ดี หรือมีพันธุกรรมของยีน APOE4 ทำให้ร่างกายกำจัดโปรตีนเหล่านี้ได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดการสะสมของโปรตีนก่อโรคเหล่านี้ในสมอง จนสุดท้ายสมองเกิดความเสียหาย เกิดเป็นภาวะสมองเสื่อม โดยโรคสมองเสื่อมแต่ละโรคก็จะมีโปรตีนก่อโรคหลักๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น โรคอัลไซเมอร์ มักพบโปรตีนชนิด Amyloid Beta และ p-tau217 ในขณะที่โรคพาร์กินสัน มักเป็นโปรตีนอัลฟาไซนิวคลิอิน (Alpha-Synuclein) เป็นต้น
5. อายุเท่าไหร่ถึงควรตรวจ
สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น และโปรตีนก่อโรคเหล่านี้ เริ่มสะสมตัวจนมีค่าสูงได้ตั้งแต่ 10-15 ปีก่อนเริ่มมีอาการ จึงแนะนำให้ผู้ที่เข้าข่าย หรือมีปัจจัยเสี่ยง มาเริ่มตรวจอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อวางแผนการดูแลสมองและร่างกายต่อไป หรือในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอัลไซเมอร์ อาจจะเข้ามารับการตรวจได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี เนื่องจากมีโอกาสได้รับพันธุกรรมที่ส่งผลให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่อายุ 60 ปีลงไปได้
6. นอกจากอายุแล้ว มีปัจจัยเสี่ยงใดอีกที่บ่งชี้ว่าควรตรวจอัลไซเมอร์เร็วกว่าปกติ?
ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ นอกจากอายุแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรได้รับการตรวจอัลไซเมอร์ด้วยเช่นกัน ได้แก่

6.1 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

6.2 สูบบุหรี่เป็นประจำ

6.3 มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานประเภท 2 มีภาวะความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอล และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

6.4 มีปัญหาในการนอนหลับ หรือมีความเครียดสะสม

6.5 มีประวัติครอบครัวและพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ เช่น มีญาติพี่น้องที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว

6.6 เคยมีการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง
7.การตรวจอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ จากเลือด ใช้เวลาตรวจกี่เวลา?

การตรวจอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ จากเลือดของ BKGI ใช้เวลาตรวจผล ดังนี้

  • Neurodegenerative Diseases Screening: 5-7 วันทำการ

  • Alzheimer Disease Screening: 5-7 วันทำการ

  • Parkinson Disease Screening: 5-7 วันทำการ

  • Neuronal Damage Screening: 5-7 วันทำการ

8. หลังจากตรวจอัลไซเมอร์แล้ว ควรทำอย่างไรต่อ?

หลังจากการตรวจพบแนวโน้มของโรคอัลไซเมอร์แล้ว แพทย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐานและอาจจะพิจารณาจากการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อแนะนำการรักษาหรือดูแลที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคล และสำหรับผู้ป่วยเอง ก็ควรที่จะเริ่มต้นดูแลตนเอง เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคร้าย โดยสำหรับการป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยตัวเอง สามารถทำได้เบื้องต้น ตามนี้

  • ควบคุมน้ำหนัก รักษาดัชนีมวลกาย (BMI) ให้อยู่ในช่วงเกณฑ์ปกติ หรือ 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด หลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่, และโรคอ้วน
  • ทานอาหารให้สมดุล ครบ 5 หมู่ตามสัดส่วน, รวมถึงผักใบเขียวและผลไม้รสหวานน้อย
  • ทานอาหารเช้ามื้อสำคัญ เมนู 1 มื้อควรประกอบด้วยข้าว-แป้งหรือธัญพืช, เนื้อสัตว์, ผัก, และผลไม้
  • เลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพ เลือกทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว, เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน, ผลิตภัณฑ์นม, และน้ำมันพืชในการประกอบอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารไม่ดี อาหารไขมันสูง, หวานจัด, เค็มจัด, และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
  • ฝึกสมองด้วยการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ เล่นเกม หรือใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียด, และพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ
9.หากมีความเสี่ยงหรือมีอาการ ควรไปตรวจอัลไซเมอร์ที่ไหนดี?
หากสงสัยว่าตนเองหรือคนรู้จักมีอาการหรือความเสี่ยง แล้วจะต้องไปตรวจอัลไซเมอร์ที่ไหนดี แนะนำให้เลือกสถานพยาบาลที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือสอบถามเพิ่มเติมว่ามีบริการตรวจอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ จากเลือดของ BKGI หรือไม่
zone9_bg

ช่องทางการติดต่อ

QR_BGI_Facebook

Facebook : แบงคอกจีโนมิกส์อินโนเวชั่น

Line

LINE : @bkgi

Bangkok Genomics Innovation บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์

Tel : 094-616-6878

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy