AD

การตรวจโปรตีนก่อโรคอัลไซเมอร์ คืออะไร
ปกติสมองจะมีการผลิตโปรตีนก่อโรคเหล่านี้ตลอดเวลา อายุที่มากขึ้น ภาวะเครียดเรื้อรัง หรือสุขภาวะที่ไม่ดี หรือมีพันธุกรรมชนิด APOE4 จะทำให้ร่างกายกำจัดโปรตีนเหล่านี้ได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดการสะสมของโปรตีนก่อโรคเหล่านี้ในสมอง จนสุดท้ายสมองเกิดความเสียหาย เกิดเป็นภาวะสมองเสื่อม โดยโรคสมองเสื่อมแต่ละโรคก็จะมีโปรตีนก่อโรคหลักๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น โรคอัลไซเมอร์ มักพบโปรตีนชนิด amyloid beta และ ptau ในขณะที่โรคพาร์กินสัน มักเป็นโปรตีน alpha-synuclein เป็นต้น
อายุเท่าไหร่ถึงควรตรวจ
จากสถิติ พบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่า 50% (ศ.นพ.ประเสริฐ บุญเกิด ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล 16 พฤษภาคม 2565) และโปรตีนก่อโรคเหล่านี้ เริ่มสะสมตัวจนมีค่าสูงได้ตั้งแต่ 5-10 ปีก่อนมีอาการ จึงแนะนำให้เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อวางแผนการดูแลสมองและร่างกายต่อไป หรือในกรณีคนในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ อาจจะตรวจได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี เนื่องจากมีโอกาสได้รับพันธุกรรมที่ส่งผลให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่อายุน้อยๆได้
ตรวจแล้วควรทำอย่างไรต่อ

แพทย์ผู้ดูแล จะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐานและอาจจะพิจารณาจากการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม และแนะนำการรักษาหรือดูแลที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคล

การป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยตัวเอง สามารถทำได้ตามนี้ (วิไลลักษณ์ ศรีสุระ และคณะ คู่มือแนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ กินอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2560)

  1. ควบคุมน้ำหนัก รักษาดัชนีมวลกาย (BMI) ให้อยู่ในช่วง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด หลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่, และโรคอ้วน.
  2. อาหารสมดุล กินอาหารครบ 5 หมู่ตามสัดส่วน, รวมถึงผักสีเขียวเข้มและผลไม้รสหวานน้อย.
  3. อาหารเช้า มื้อเช้าสำคัญมาก ควรประกอบด้วยข้าว-แป้งหรือธัญพืช, เนื้อสัตว์, ผัก, และผลไม้.
  4. เลือกทานเพื่อสุขภาพ ใช้ข้าวกล้องแทนข้าวขาว, เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน, ผลิตภัณฑ์นม, และน้ำมันพืชในการประกอบอาหาร.
  5. หลีกเลี่ยงอาหารไม่ดี อาหารไขมันสูง, หวานจัด, เค็มจัด, และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่.
  6. ดื่มน้ำเพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย.
  7. ออกกำลังกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที.
  8. การฝึกสมอง อ่านหนังสือ, เขียนหนังสือ, เล่นเกม, หรือใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ.
  9. พักผ่อนเพียงพอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน.
  10. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ไปตรวจสุขภาพทุกปี และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด.
  11. สังคมและจิตใจ มีสังคมที่ดี, หากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียด, และพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ.
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy