เพิ่มเติม
หน้าหลัก
ผลิตภัณฑ์และบริการ
นักลงทุนสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
เพิ่มเติม
SENTIS
ควรตรวจคัดกรองความเสี่ยงยีนก่อโรคมะเร็งทางพันธุกรรมบ่อยแค่ไหน
ความถี่ในการตรวจขึ้นอยู่กับประวัติส่วนตัวและครอบครัวของคุณ แพทย์หรือที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์จะแนะนำตารางเวลาที่เหมาะสม
ผลการทดสอบสามารถส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวได้หรือไม่
ใช่ การกลายพันธุ์ของยีนทางพันธุกรรมสามารถส่งต่อกันในครอบครัวได้ ผลลัพธ์ที่เป็นบวกอาจเพิ่มความตระหนักในการให้สมาชิกในครอบครัวพิจารณาการตรวจคัดกรองความเสี่ยงยีนก่อโรคมะเร็งทางพันธุกรรม
ถ้าหากว่าผลการทดสอบเป็นบวก ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
หากคุณมีผลการทดสอบเป็นบวก แพทย์หรือที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์จะทำงานร่วมกับคุณเพื่อพัฒนาแผนเฉพาะบุคคลสำหรับการติดตามและลดความเสี่ยงมะเร็งของคุณ
ผลการทดสอบเป็นลบ หมายความว่าอย่างไร
ผลการทดสอบเป็นลบหมายความว่าไม่พบการกลายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะไม่เป็นมะเร็ง
ผลการทดสอบเป็นบวก หมายความว่าอย่างไร
ผลการทดสอบเป็นบวกบ่งชี้ว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงมะเร็งที่สูงขึ้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน แต่ความเสี่ยงของคุณสูงขึ้น
BGI-Xome
BGI-Xome สามารถตรวจในทารกแรกเกิดหรือเด็กได้หรือไม่
BGI-Xome สามารถตรวจในทารกแรกเกิดหรือเด็กได้ การตรวจนี้สามารถใช้ได้กับบุคคลทุกวัย รวมถึงเด็กและทารกด้วย มักใช้ในกรณีเด็กที่สงสัยว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรม
ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากได้รับผลการตรวจ
เมื่อทราบผลแล้ว แพทย์หรือที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์จะตีความและอธิบายผลการค้นพบให้ผู้รับบริการทราบ ท่านจะทราบถึงผลกระทบของผลการตรวจ และทางเลือกการรักษาที่อาจเกิดขึ้น
ข้อจำกัดของ BGI-Xome มีอะไรบ้าง
การตรวจอาจไม่ครอบคลุมถึงรูปแบบการกลายพันธุ์ของยีนที่ก่อโรคได้ทั้งหมด
BGI-Xome เหมาะกับผู้ป่วยทุกรายหรือไม่
โดยทั่วไปแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่ซับซ้อน หรือไม่ได้รับการวินิจฉัย และยังสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีข้อสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับพื้นฐานทางพันธุกรรมสำหรับปัญหาสุขภาพของตนเอง
โรคหรืออาการใดบ้างมีสามารถตรวจพบได้โดย BGI-Xome
BGI-Xome สามารถตรวจพบการกลายพันธุ์หรือลำดับพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของโรคหรืออาการต่าง ๆ รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ความผิดปกติทางระบบประสาท พัฒนาการล่าช้า และความบกพร่องทางสติปัญญา
COLOTECT
สามารถตรวจ COLOTECT ได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ?
บุคคลทั่วไปสามารถเริ่มตรวจคัดกรอง COLOTECT ได้ ตั้งแต่อายุก่อน 45 ปี และสามารถตรวจได้แม้จะยังไม่มีอาการผิดปกติ
ต้องส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจภายในกี่วัน หลังจากเก็บสิ่งส่งตรวจอุจจาระเสร็จแล้ว ?
ควรส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจกลับมาที่ห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมงหลังเก็บ หรือให้เร็วที่สุด โดยสิ่งส่งตรวจต้องมาถึงห้องปฏิบัติการไม่เกิน 7 วัน หลังเก็บ
ส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการอย่างไร ?
สามารถส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการ ผ่าน EMS ไปรษณีย์ไทยทุกสาขา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
สามารถรับผลตรวจวิเคราะห์ได้ที่ช่องทางไหน ?
ผลการตรวจวิเคราะห์จะส่งทางอีเมลที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
ใช้เวลาในการรายงานผลกี่วัน ?
7 วันทำการ *หลังจากที่ห้องปฏิบัติการได้รับสิ่งส่งตรวจแล้ว
คำถามพี่พบบ่อย
สามารถตรวจ DNALL ได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่
สามารถตรวจได้ตั้งแต่เด็กทารกอายุ 1 เดือนขึ้นไป
ต้องส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจภายในกี่วัน หลังจากเก็บน้ำลายบริเวณกระพุ้งแก้มเสร็จแล้ว
ควรส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจกลับมาที่ห้องปฏิบัติการภายใน 1 เดือนหลังเก็บน้ำลายบริเวณกระพุ้งแก้ม
ส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการอย่างไร
สามารถส่งชุดเก็บสิ่งส่งตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการ ผ่านไปรษณีย์ไทยทุกสาขา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
สามารถดูผลได้ที่ช่องทางไหน
สามารถลงทะเบียนและเข้าดูผลได้ที่ www.dnallth.com
ใช้เวลาในการรายงานผลกี่วัน
45 วันทำการ
สำหรับแพ็กเกจ Prestige
15-21 วันทำการ
สำหรับแพ็กเกจ SNIP & PICK
*หลังจากที่ห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่างแล้ว
1
2
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By
MakeWebEasy
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ผลิตภัณฑ์และบริการ
ผลิตภัณฑ์และบริการ
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
Home
Home
Home
Home
หน้าหลัก
ผลิตภัณฑ์และบริการ
นักลงทุนสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์