แชร์

NIFTY เทคโนโลยีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเพื่อลูกน้อยของคุณ

383 ผู้เข้าชม
  • หนึ่งในคำถามที่คุณแม่หลาย ๆ คนกังวลใจทุกครั้งที่ตั้งครรภ์ คือ ลูกของเราจะแข็งแรงไหม จะมีความผิดปกติอะไรกับลูกน้อยหรือไม่ ดังนั้นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อคัดกรอง วินิจฉัย หรือเฝ้าดูแลไม่ให้เกิดความผิดปกติกับลูกน้อยในครรภ์ไปจนถึงวันกำหนดคลอดอย่างดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน โดยเฉพาะการตรวจเพื่อคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งกลุ่มอาการนี้มีโอกาสเกิดได้ประมาณ 1 คนต่ออัตราการเกิดของทารก 800 คนและสามารถเพิ่มได้ถึง 1 คนต่ออัตราการเกิดของทารก 250 คน หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

                  กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (Down's syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์ มีลักษณะทางร่างกายภายนอกที่จำเพาะ เช่น ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ดั้งจมูกแบน ลิ้นโตคับปาก มีลายฝ่ามือตัดขวาง กระดูกข้อกลางของนิ้วก้อยสั้นหรือหายไป ตัวนิ่มอ่อนปวกเปียก ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน ตัวเตี้ย และมักจะมีรูปร่างอ้วน เป็นต้น

    นอกจากลักษณะภายนอกร่างกายแล้ว เด็กกลุ่มนี้อาจมีภาวะการเจ็บป่วยอื่นๆที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษร่วมด้วย เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด ลำไส้อุดตัน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ปัญหาสายตาและการได้ยิน เป็นต้น มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นกว่าเด็กปกติ มีภาวะสติปัญญาล่าช้า บางคนมีอาการชัก สมาธิสั้น ออทิสติก หรือมีปัญหาทางด้านพฤติกรรม และอาจเป็นอัลไซเมอร์เมื่อมีอายุมากขึ้น  อันเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตของลูกน้อยและเป็นการเพิ่มภาระการเลี้ยงดูให้แก่คุณพ่อคุณแม่อีกด้วย

    จึงทำให้วิทยาลัยพันธุศาสตร์การแพทย์ของอเมริกา (ACMG) แนะนำให้ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แม้คุณแม่มีอายุไม่เกิน 35 ปีก็ตาม การตรวจพื้นฐานเพื่อคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ เช่น ตรวจจากสารชีวเคมีในเลือดด้วยวิธี Quadruple test ซึ่งสามารถพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ได้ วิธีนี้มีความไว (Sensitivity) ในการตรวจพบอยู่ที่ 81% อีกทั้งยังสามารถให้ผลบวกลวง (False Positive) ได้ถึงประมาณ 5% อีกวิธีหนึ่งคือ การตรวจ Karyotyping ถือเป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม ที่ต้องเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ ซึ่งการเจาะน้ำคร่ำอาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรถึง 0.5-2%

                  ด้วยข้อจำกัดข้างต้น วิธีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแบบไม่รุกล้ำ หรือเรียกว่า Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับคุณพ่อคุณแม่ ห้องปฏิบัติการจะตรวจหาชิ้นส่วน DNA เล็ก ๆ ของทารกในครรภ์ที่ปะปนอยู่ในกระแสเลือดแม่ หรือที่เรียกว่า Cell-free fetal DNA (cffDNA) ด้วยเทคนิคการอ่านลำดับสารพันธุกรรม (Next Generation Sequencing; NGS) จากนั้นจะเทียบลำดับสารพันธุกรรมที่อ่านได้กับฐานข้อมูลพันธุกรรมของมนุษย์ปกติ (Human Genome Reference) ทำให้สามารถทำนายความเสี่ยงในการเกิดดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติของโครโมโซมอื่นได้ วิธีนี้มีความไว (Sensitivity) ในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมากกว่า 99% และมีความจำเพาะ (Specificity) มากกว่า 99.9% จากการศึกษาในกลุ่มประชากรคุณแม่ตั้งครรภ์กว่า 146,000 ราย ทำให้ลดความเสี่ยงของการแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็นได้อีกด้วย

            ให้ NIFTY ดูแลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเพื่อสุขภาพลูกน้อยของคุณ

 

สอบถามและรับบริการตรวจ ณ สถานพยาบาลทั่วประเทศ (ราคาขึ้นกับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง)


บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักกับการ “ตรวจ NIPT” วิธีคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์
ตอบครบทุกคำถามการ ตรวจ NIPT คืออะไร? ตรวจ NIPT อายุครรภ์กี่สัปดาห์? บอกอะไรได้บ้าง? ราคาเท่าไหร่? กี่วันรู้ผล?​ เบิกประกันได้ไหม? ยี่ห้อไหนดี? อ่านได้ที่นี่เลย
รู้จักกับ Quadruple Test (QT) หนึ่งในวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมยอดนิยม
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี Quadruple Test (QT) คืออะไร? ตรวจได้ตอนกี่สัปดาห์? มีความแม่นยำเท่าไหร่? ผลเสี่ยงสูงต้องทำยังไงต่อ? หาคำตอบได้ที่นี่เลย
ไขข้อสงสัย ตรวจดาวน์ซินโดรม อายุครรภ์กี่สัปดาห์ วิธีไหนเร็วที่สุด?
ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คืออะไร?​ ตรวจดาวน์ซินโดรมมีแบบไหนบ้าง? จำเป็นไหม? ตรวจดาวน์ซินโดรม อายุครรภ์กี่สัปดาห์? วิธีไหนเร็วที่สุด? อ่านได้ที่นี่เลย
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy