แชร์

Minimal Residual Disease (MRD) คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการรักษาโรคมะเร็ง

85 ผู้เข้าชม

ในยุคของการแพทย์ที่ก้าวหน้า การรักษาโรคมะเร็งไม่ได้หยุดเพียงแค่การกำจัดเนื้องอกที่มองเห็นได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการติดตามเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ในร่างกายหลังการรักษา หรือที่เรียกว่า Minimal Residual Disease หรือ MRD ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการประเมินประสิทธิภาพการรักษา พยากรณ์โรค และวางแผนการรักษาต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าและการแพทย์แม่นยำที่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและแม่นยำในการติดตามผลการรักษา

 

What Does MRD Stand For - เอ็ม อาร์ ดี คืออะไร

MRD ย่อมาจากคำว่า Minimal residual disease  คือเซลล์มะเร็งจำนวนเล็กน้อยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายภายหลังการรักษา แม้ว่าผู้ป่วยจะดูเหมือนหายขาดแล้วก็ตาม เซลล์เหล่านี้มีจำนวนน้อยมากจนไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น การเอกซเรย์ หรือการตรวจเลือดแบบปกติ แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยเทคนิคการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีความละเอียดสูง การตรวจ MRD จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการประเมินผลการรักษา คาดการณ์โอกาสกลับเป็นซ้ำของโรค และช่วยแพทย์วางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

โดยทางการแพทย์ (MRD full form in medical, MRD full form in hospital) Minimal Residual Disease หรือบางครั้งเรียกว่า Measurable Residual Disease ได้กลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินความลึกของการตอบสนองต่อการรักษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดและมะเร็งชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเซลล์มะเร็งที่หลงเหลือเหล่านี้แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตและทำให้โรคมะเร็งนั้น ๆ กลับมาเป็นซ้ำได้ในอนาคต การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ MRD จึงเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการรักษา

 

Tumor-informed MRD คืออะไร?

Tumor-informed MRD คือวิธีการตรวจ MRD โดยใช้ข้อมูลเฉพาะของ เนื้องอกของผู้ป่วยคนนั้น มาเป็นฐานวิเคราะห์ เช่น การตรวจ ctDNA (circulating tumor DNA) ที่จำเพาะกับ mutation ของมะเร็งในตัวบุคคลนั้นๆ

จุดเด่นของ Tumor-informed MRD:

  1. Personalized มากกว่า — วิเคราะห์จากเนื้อมะเร็งจากตัวผู้ป่วยเอง ทำให้แม่นยำและจำเพาะสูง
  2. ไวต่อการตรวจเจอการกลับมาเป็นซ้ำ —  สามารถตรวจพบการกลับมาของโรคก่อนแสดงอาการทางคลินิกได้หลายเดือน
  3. เหมาะกับการติดตามระยะยาว — ใช้เพียงเลือด ทำซ้ำได้บ่อย ไม่รบกวนผู้ป่วย ใช้เป็นตัวชี้วัดเพื่อหยุดยา หรือเปลี่ยนแผนการรักษาได้เร็วขึ้น

 

Minimal Residual Disease สำคัญอย่างไรกับการรักษา

การตรวจ Minimal Residual Disease มีบทบาทสำคัญหลายประการในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ดังนี้

การประเมินประสิทธิภาพการรักษา

การตรวจ Minimal Residual Disease ช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่าการรักษาที่ให้กับผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด โดยผู้ป่วยที่มีผลตรวจ MRD negative หรือตรวจไม่พบเซลล์มะเร็งหลงเหลือ มักจะมีผลการรักษาที่ดีกว่า มีอัตราการรอดชีวิตที่ยาวนานขึ้น และมีโอกาสที่โรคจะกลับมาเป็นซ้ำน้อยลง แต่ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่มีผลตรวจ MRD positive หรือยังตรวจพบเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ อาจต้องการการรักษาที่เข้มข้นขึ้น เช่น การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือการให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติม

การพยากรณ์โรคและวางแผนการรักษาต่อเนื่อง

การติดตามผลการรักษาด้วยการตรวจมะเร็ง Minimal Residual Disease ยังช่วยให้แพทย์สามารถปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้ทันท่วงที หากตรวจพบว่ามีแนวโน้มที่โรคจะกลับมาเป็นซ้ำ นอกจากนี้ การตรวจ MRD ยังช่วยลดการรักษาที่ไม่จำเป็นในผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาได้ดี ซึ่งช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การตรวจ MRD จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะบุคคลในยุคปัจจุบัน และเป็นข้อมูลที่ช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเกี่ยวกับการให้การรักษาเสริมหรือการดูแลรักษาในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปรับแผนการรักษาแบบเฉพาะบุคคล

การตรวจ MRD ช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น การติดตาม MRD ร่วมกับการตรวจวิเคราะห์ยีนก่อโรคมะเร็งช่วยให้แพทย์สามารถปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การเปลี่ยนยารักษาโรคมะเร็งหรือการเพิ่มทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษา

 

MRD Cancer - ความสัมพันธ์ระหว่างโรคตกค้างน้อยที่สุดกับโรคมะเร็ง

Minimal Residual Disease มีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์และการตัดสินใจในการรักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมะเร็งเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ เช่น 

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน (ALL และ AML)
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง (CLL) 
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอิโลมา หรือเอ็มเอ็ม (Multiple Myeloma, MM)

การตรวจ MRD ยังสามารถใช้ในการตรวจหามะเร็งก้อนชนิดต่าง ๆ (Solid Tumors) เช่น

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)
  • มะเร็งปอด (Lung Cancer)
  • มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
  • มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer)
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)
  • มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)

โดยการตรวจ Minimal Residual Disease จะใช้เทคนิคการตรวจ Circulating Tumor DNA (ctDNA) ด้วยวิธี Next-Generation Sequencing (NGS) เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งที่หลุดลอยออกมาในกระแสเลือด และสามารถใช้ติดตามการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้

การตรวจพบยีนก่อโรคมะเร็งผ่านการตรวจ MRD ยังช่วยให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยามุ่งเป้าที่เหมาะสมกับลักษณะทางพันธุกรรมของมะเร็งในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) ที่มุ่งเน้นการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

 

วิธีการตรวจ MRD Testing

การตรวจยีนหายารักษามะเร็งจาก Minimal Residual Disease นั้น จะมี 3 เทคนิคหลักที่ใช้ในปัจจุบัน โดยแต่ละวิธีมีความไวและความเหมาะสมแตกต่างกันไป ดังนี้

  1. Flow Cytometry: เป็นการใช้แสงเลเซอร์ในการวิเคราะห์คุณสมบัติของเซลล์ สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็ง 1 เซลล์ในเซลล์ปกติ 10,000-100,000 เซลล์ เหมาะสำหรับการตรวจมะเร็งเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ
  2. Polymerase Chain Reaction (PCR): เป็นการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมที่จำเพาะกับเซลล์มะเร็ง มีความละเอียดสูงถึง 1 เซลล์ในล้านเซลล์ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ทราบความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ชัดเจน
  3. Next-Generation Sequencing (NGS): เป็นเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติทางพันธุกรรมได้หลายตำแหน่งพร้อมกัน สามารถรู้ผลได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรวจยีนหายามุ่งเป้าได้อย่างแม่นยำ เหมาะสำหรับการติดตามการรักษาระยะยาว

โดยขั้นตอนการเก็บตัวอย่างสำหรับการตรวจ MRD อาจทำได้โดยการเจาะเลือดหรือการเจาะไขกระดูก ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและวิธีการตรวจ การเจาะไขกระดูกแม้จะให้ผลที่แม่นยำกว่า แต่ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีความเสี่ยงมากกว่าสำหรับผู้เข้ารับการตรวจ เมื่อเทียบกับการเจาะเลือดที่สะดวกสบาย ง่ายและเจ็บน้อยกว่า โดยเฉพาะสำหรับการติดตามผลการรักษาในระยะยาว

 

ข้อดีของการตรวจ Minimal Residual Disease

การตรวจ Minimal Residual Disease มีประโยชน์อย่างมากต่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วย โดยเฉพาะในแง่ของการตรวจสุขภาพและการติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด

  • การพยากรณ์โรคที่แม่นยำขึ้น: ข้อมูลการตรวจ Minimal Residual Disease นี้ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนชีวิตได้ดีขึ้น ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตที่สูงกว่าและมีโอกาสหายขาดจากโรคมะเร็งที่สูงขึ้น
  • การปรับแผนการรักษาให้เหมาะสม: แพทย์สามารถเพิ่มหรือลดระดับของการรักษาตามผลการตรวจ Minimal Residual Disease ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงที่ไม่จำเป็นและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดีขึ้น
  • ตรวจพบการกลับเป็นซ้ำได้เร็วขึ้น: การตรวจ MRD สามารถตรวจพบการกลับมาของโรคได้ก่อนที่จะแสดงอาการอีกครั้ง ทำให้สามารถเริ่มการรักษาได้ทันท่วงทีโดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการที่ชัดเจน
  • การสนับสนุนแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (wellness): การติดตามผลสุขภาพด้วย MRD เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความกังวลเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำของโรค และสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีความสุข

 

บริษัท แบงคอกจีโนมิกส์อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) มีบริการตรวจ OncoPress ที่ใช้เทคโนโลยี NGS ขั้นสูงในการตรวจ MRD โดยแพ็กเกจ OncoPress Monitoring สามารถติดตามการกลับเป็นซ้ำของโรคได้อย่างแม่นยำ ใช้เวลาเพียง 13 วันทำการ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีบริการ OncoPress Premium ที่ตรวจวิเคราะห์ยีนถึง 1,021 ยีน ครอบคลุมการกลายพันธุ์ของยีนหลายรูปแบบ เพื่ออ้างอิงในการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

ในกรณีของผู้ที่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง จะไม่แนะนำให้เข้ารับการตรวจดังกล่าว เนื่องจากการตรวจ OncoPress ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่ได้วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้วเท่านั้น หากต้องการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ขอแนะนำบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง SENTIS Hereditary Cancer Screening สำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งโดยเฉพาะ

การตรวจ Minimal Residual Disease เป็นความก้าวหน้าสำคัญในการรักษามะเร็งยุคใหม่ ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินผลการรักษา คาดการณ์โอกาสกลับเป็นซ้ำ วางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพราะการตรวจ MRD ไม่เพียงแต่จะช่วยในการรักษาเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

 

บริษัท แบงคอกจีโนมิกส์อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทฯ ในเครือ BGI Genomics ที่ก่อตั้งในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้รับมาตรฐาน ISO15189, ISO15190 และ ISO/IEC 27001:2022 จากสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (BSI) ให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรมที่ครอบคลุมในหลายด้าน ได้แก่

  • การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์มารดา
  • การตรวจคัดกรองพาหะโรคทางพันธุกรรมสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร หรือมีบุตรยาก
  • การตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนก่อมะเร็ง เพื่อหาตัวยาในการรักษาแบบเฉพาะบุคคล
  • การตรวจคัดกรองความเสี่ยงยีนก่อโรคการเกิดมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การตรวจวิเคราะห์กลุ่มโรคติดเชื้อ รวมถึงมะเร็งปากมดลูกและ COVID-19
  • การตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมเฉพาะบุคคลเพื่อวางแผนสุขภาพและชะลอวัย


ติดต่อเรา
โทร: 094 616 6878
อีเมล: marketing@bangkokgenomics.com
เว็บไซต์: https://www.bangkokgenomics.com
ที่อยู่: 3689 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กทม. 10110
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ 8.30-17.30 น., เสาร์ 9.00-15.00 น.


บทความที่เกี่ยวข้อง
มะเร็งระยะที่ 4 กับความหวังใหม่ในการรักษาและการดูแลแบบองค์รวม
มะเร็งระยะที่ 4 หรือมะเร็งระยะลุกลาม ต่างมีทางเลือกการรักษาที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุที่ยืนยาว พร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
Comprehensive Genetic Testing คืออะไร จำเป็นอย่างไรต่อการดูแลสุขภาพ
Comprehensive Genetic Testing หรือการตรวจรหัสพันธุกรรมแบบครอบคลุม ที่ช่วยให้เราเข้าใจความเสี่ยงทางพันธุกรรม วินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาได้แม่นยำและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ทำความรู้จักยีน APOE ทำไมถึงเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์
ทำความรู้จักยีน APOE ว่ามันคืออะไร ทำหน้าที่อะไรในร่างกายของเรา และทำไม ยีน APOE ถึงเพิ่มความเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์ได้ รวมถึงการตรวจความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy